เออ...ขอเสริมข้อที่ 1 นิดนะครับ
คาร์นัวบาร์ นั้นเราสามารถเตรียมให้เข้มข้นเท่าไหร่ก็ได้ เพราะผมเองก็เตรียมอยู่ ความเข้มข้นทางเคมีมีหลายหน่วย หน่วยที่พูดกันกับคาร์นัวบามีสองแบบคือร้อยละโดยมวล กับร้อยละโดยปริมาตร ทีนี้สารพวกลิพิดเรานิยมใช้ร้อยละโดยมวลครับ เช่น 61% โดยมวล หมายความว่าจะต้องประกอบด้วยคาร์นัวบาร์ 61 ส่วนโดยน้ำหนักเช่น 61 กรัม ที่มีอยู่ในตัวทำละลาย 39 กรัม รวมแล้วจึงเป็น 100 กรัม ตามสูตร
%w/w = (g ตัวถูกละลาย) / (g สารละลาย) x 100
(หมายเหตุ คำว่าสารละลายในทางเคมีไม่จำเป็นต้องเป็นของเหลว เป็นได้ทุกสถานะ)
ทุกวันนี้ผมเตรียม 50% ผมก็จะใช้ คาร์นัวบา 50 g + น้ำมันและกลิ่น (เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันทานตะวัน สารสกัดกานพลู) รวมกัน 50 g ทำให้มวลรวมของสารละลายเป็น 100 กรัม มีคาร์นัวบา 50 กรัมครับ
ข้อ 3 ในธรรมชาติไม่มีสีขาวครับ จะมีแต่สีเหลืองอ่อนเท่านั้น (T1 grade) ราคาล่าสุดที่เซลล์แจ้งผมลดจาก 1250.- เหลือ 910.- ต่อกิโลกรัมเท่านั้น การจะทำให้มันกลายเป็นสีขาวได้จะต้องผ่านการฟอกสี โดยทำใ้ห้อยู่ในรูปของเหลวหรือสารละลาย เช่นละลายในเฮกเซนแล้วพ่นแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลงไป แก๊สนี้จะไปทำให้สารสีน้ำตาลสลายตัวกลายเป็นสีขาว(bleaching) จากนั้นนำไปให้ความร้อนเพื่อระเหยเฮกเซนออกไปก็จะได้สีขาวออกมาครับ มันไม่ใช่การกลั่นนะ
ข้อ 5 การอุ่นแวกซ์
ใครที่เคยเรียนวิชาเคมีมาทั้งใน ม. ปลาย และระดับอุดมศึกษา เมื่อคาร์นัวบาซึ่งมีจุดหลอมเหลวประมาณ 75 องศาเซลเซียส ละลายตัวลงในน้ำมันหรือตัวทำละลายใดๆ มันจะมีจุดหลอมเหลวเปลี่ยนไป เราเรียกมันว่าสมบัติคอลิเกทีฟ เหมือนกับเราดูหนังไททานิก พระเอกลอยคอยู่ในน้ำทะเลที่เย็นมาก แต่ทำไมน้ำไม่เป็นน้ำแข็ง แต่พระเอกหนาวจนตาย เพราะน้ำทะเลตรงแถบใกล้ขั้วโลกมีอุณหภูมิประมาณ -19 องศาเซลเซียส ที่ไม่เป็นน้ำแข็งเพราะมันมีเกลือปนอยู่ ทำให้จุดเยือกแข็ง(อัีนเดียวกับจุดหลอมเหลว) ลดต่ำกว่า 0 องศาด้วย เบียร์วุ้นก็เหมือนกัน ที่เราแช่เย็นมากๆ แต่ทำไมไม่เป็นน้ำแข็งแข็งโป๊กเลย เพราะในเบียร์มีทั้งแอลกอฮอล์ และโปรตีนทำให้มันไม่แข็งครับ แต่เกิดเป็นเกล็ดของโปรตีน(ที่เราเรียกว่าวุ้น) นั่นเอง คาร์นัวบาที่ละลายอยู่ในน้ำมันก็คล้ายๆกัน จุดหลอมเหลวมันจะต่ำลงเหลือประมาณ 40 - 50 องศาเซลเซียส แต่ก็สูงกว่าอุณหภูมิของคน แต่จะสังเกตว่า เวลาลงแวกซ์พวกนี้พอขุดมาใส่มือเราต้องถู การออกแรงถูมือสองข้างเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้น ทำให้มันหลอมได้ครับ
ข้อ 6 เรื่องธรรมชาติ
ในทางเคมี แยก natural product ออกจาก non natural product โดยดูจากกระบวนการครับ หากไม่ได้ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วได้สารใหม่ เราถือว่าคงเป็นสารตามธรรมชาติครับ เช่นขูดเอาคาร์นัวบาจากใบไม้ แล้วนำมาละลายในตัวทำละลาย นำไปปั่นเหวี่ยงเอา สิ่งเจือปนออก นำไปหลอมแล้วกรอง ปั่นเหวี่ยงอีกทีจนได้ T1 จะเห็นได้ว่ากระบวนการไม่มีการสร้างหรือสังเคราะห์สารใหม่ คาร์นัวบาที่ได้คือสารที่มีโครงสร้างแบบเดียวกับที่อยู่ที่ผิวใบไม้ เราจะถือว่าเป็นธรรมชาติครับ แต่ถ้าใช้สารบางอย่างเติมลงไปแล้วทำให้คาร์นัวบามีโมเลกุลเปลี่ยนไป เช่นเติมธาตุออกซิเจนเข้าไปในโมเลกุล อันนี้ถือว่าไม่เป็นธรรมชาิติครับ
ทั้งหมดเป็นข้อคิดเห็นในฐานะนักเคมีนะครับ